หลอดไฟ LED ดีอย่างไร ตอนที่ 1
ปัจจุบันหลอดไฟ LED มีประสิทธิภาพการให้พลังงานแสงสว่างที่ระดับสูงถึง
120 ลูเมน/วัตต์ สูงกว่าหลอดไฟฟ้าแบบขดลวดที่มี
ประสิทธิภาพที่ระดับ 15 ลูเมน/วัตต์ หลอดไฟแบบฟลูออเรสเซ็นต์
ซึ่งมีประสิทธิภาพถึง 80 – 100
ลูเมน/วัตต์ อย่างไรก็ตาม แสงสว่างของหลอดไฟฟลูออเรสเซ็นต์จะกระจายออกไปทุกทิศทาง
ทำให้แสงกระจายโดยสูญเปล่าเป็นจำนวนมาก ขณะที่แสงสว่างของหลอดไฟ LED จะส่องไปเฉพาะจุดด้านหน้าเท่านั้น ดังนั้นประสิทธิภาพของหลอดไฟ LED
จึงนับว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าหลอดฟลูออเรสเซ็นต์
ในเรื่องของการประหยัดไฟถึง3เท่า ในปริมาณแสงสว่างที่เท่ากัน
ยิ่งไป กว่านั้นหลอดไฟ LED นั้นก้าวหน้าเร็วมาก
ทำให้มีแนวโน้มว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมาใช้หลอดไฟ LEDให้แสงสว่างแทนหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ทั้งหมด
เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาประสิทธิภาพของ LED เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก
5 ลูเมน/วัตต์ ในปี 2539 เป็น 50 ลูเมน/วัตต์ ในปี 2546 และเพิ่มขึ้นเป็น 70 วัตต์/ลูเมน ในปี 2547 ปัจจุบัน กลุ่มหลอดไฟ LED
ที่กลุ่มผู้บริโภคสามารถจับต้องได้ หรือ
ซื้อหามาเพื่อใช้ทดแทนหลอดไฟเดิม ได้พัฒนาสูงถึง 120
ลูเมน/วัตต์
(ยังไม่รวมถึงหลอดต้นแบบที่สามารถทำได้สูงถึง
150 ลูเมน/วัตต์)
ความปลอดภัยจากการใช้หลอดไฟLED
ทำให้แสงสว่างที่ได้จากการใช้งาน ไม่เกิดอันตรายจากรังสีอินฟราเรด
รังสีอุลตราไวโอเลท สารปรอท และการไม่เกิดการกระพริบของแสงซึ่งเป็นอันตรายต่อสายตา
จากการที่ LED ปล่อยความร้อนออกมาน้อยมาก
ทำให้อาคารลดการสูญเสีย พลังงานไฟฟ้าในส่วนเครื่องปรับอากาศ
ทำให้ช่วยประหยัดพลังงานมากขึ้นไปอีก
อายุการใช้งานของหลอด LED ยาวนานถึง
100,000 ชั่วโมง หรือ 11
ปีเปรียบเทียบกับหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ซึ่งมี อายุใช้งาน 30,000
ชั่วโมง หรือหลอดไฟฟ้าแบบขดลวดที่มีอายุใช้งานเพียง 1,000 – 2,000 ชั่วโมงเท่านั้น
หลอด LED ยังมีความทนทานต่อการสั่นสะเทือนมากกว่า
จึงเหมาะสมสำหรับติดตั้งในเครื่องบินหรือรถยนต์ นอกจากนี้ หลอด LED ไม่เปราะบางเหมือนกับหลอดไฟฟ้าแบบขดลวดหรือหลอดฟลูออเรสเซ็นต์
บางครั้งแม้ถูกทุบตีอย่างแรง ก็ยังสามารถใช้งานได้ หลอด LED เหมาะสำหรับหลอดไฟที่ต้องการให้เปิดปิดบ่อยครั้ง
เนื่องสามารถเปิดปิดบ่อยๆ โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด และเมื่อเปิดหลอดไฟ
จะให้ความสว่างโดยทันทีนับว่าแตกต่างจากหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ที่
หากเปิดปิดบ่อยครั้งจะเสียง่าย หรือหลอด HID ซึ่งเมื่อเปิดสวิชต์แล้ว
จะใช้เวลาช่วงหนึ่งกว่าจะให้แสงสว่างออกมาแม้ปัจจุบันมีการนำ LED ไปใช้ในอุปกรณ์ต่างๆ มากมาย แต่กลับยังไม่ได้นำมาใช้แพร่หลาย
เพื่อให้แสงสว่างภายในบ้าน เนื่องจากมีข้อจำกัดสำคัญ คือ ยังไม่สามารถผลิต LED
ที่เปล่งแสงสีขาวโดยแท้จริงได้
เรามาว่ากันต่อที่ตอนที่ 2 นะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น